HR in augmented & connected world

เรื่องที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ soft power ซึ่งมีการพูดถึงมากในประเทศไทย ว่าเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่สามารถเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจได้ ดังที่เกาหลีใต้ทาให้เห็นเป็นตัวอย่างมาแล้ว และหนึ่งใน soft power ที่พูดถึงใน ยุคนี้ก็คือ รสนิยมการแสดงออกของชายที่มีต่อผู้ชายด้วยกัน หรือที่เราเรียกว่า สาววาย ( boy ’ s love) อันมีต้นกาเนิด จากการ์ตูนญี่ปุ่นซึ่งรู้จักกันในชื่อ Yaoi ( ยา - โอย ) แม้มีต้นกาเนิดที่ญี่ปุ่นแต่ประเทศไทยทาให้ตัวละครแนววาย มีตัวตน จริง จับต้องได้ จนมีการผลิตคอนเทน์แนวนี้ออกมาจานวนมาก และแตกแขนงไปเป็นธุรกิจรูปแบบต่างๆ สร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจได้กว่าหนึ่งพันล้านในปัจจุบัน แม้ว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีข้อสรุป แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตอย่างกว้างขวางว่า แฟนคลับของ สาววายไม่ใช่ LBGTQ แต่เป็นผู้หญิงโดยทั่วไป ซึ่งทัสเชื่อมโยงปรากฏการณ์ดังกล่าวเข้ากับ การ เติบโตและขยายตัวของกลุ่มเจเนอเรชั่นใหม่ ( Gen Z) ที่เริ่มกลายมาเป็นผู้บริโภคกลุ่มสาคัญใน สังคม โดยอัตลักษณ์ที่สาคัญของกลุ่มเจนนี้ คือความคิดอิสระ ไม่ชอบการขีดกรอบให้เลือก เพราะเชื่อว่าทางเลือกในโลกเป็นไปได้หลากหลายและไม่ควรถูกกาหนดด้วยกรอบเดิมๆ สิ่งนี้มี ผลต่อองค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหันกลับมาทบทวนนโยบาย แนวปฏิบัติที่ใช้มาแต่เดิมว่า ทันสมัยและรองรับกับมโนคติและแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมได้หรือไม่

Made with FlippingBook Online newsletter maker